Home

ประวัติความเป็นมาของไฮดรอลิค

แบลส ปาสกาล (Blaise Pascal, ค.ศ. ๑๖๒๓-๑๖๖๒) นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส ได้สรุปเป็นกฎไว้ว่า "ของเหลวภายในภาชนะซึ่งมีช่องทะลุถึงกันได้ ความดันในของเหลวที่ระดับเดียวกันจะต้องมีค่าเท่ากัน ในขณะเมื่อไม่มีการไหล" ความดันคือแรงต่อหน่วยเนื้อที่ ถ้ามีกระบอกสูบสองกระบอก มีขนาดใหญ่อันหนึ่งและเล็กอันหนึ่ง มีท่อต่อให้น้ำมันภายในกระบอกทั้งสองไหลถึงกันได้ เมื่อกดลูกสูบเล็กลงน้ำมันจะถูกอัดไปดันให้ลูกสูบใหญ่ลอยขึ้น ถ้าออกแรงกด P บนลูกสูบเล็กซึ่งมีพื้นที่หน้าตัด a จะเกิดแรงยก W ใต้ลูกสูบใหญ่ซึ่งมีพื้นที่หน้าตัด A ตามกฎของปาสกาล ความดันของน้ำมันที่ระดับเดียวกันในกระบอกทั้งสองต้องเท่ากัน นั่นคือ P/a = W/A ดังนั้น ถ้าลูกสูบใหญ่มีพื้นที่หน้าตัดเป็น ๑๐ เท่าของอันเล็ก แรงที่ใช้กดบนลูกสูบเล็กจะเป็นเพียงหนึ่งในสิบของน้ำหนักที่ต้องการยกทางลูกสูบใหญ่เท่านั้น นี่คือหลักเกณฑ์ที่ใช้ในแม่แรงไฮดรอลิกทั้งหลายดังเช่นที่เราเห็นในอู่บริการรถยนต์ และตามข้อดันใบมีดของรถดันเกลี่ยดิน เป็นต้น

 



ประวัติความเป็นมาของไฮดรอลิค
ศัพท์เทคนิคในระบบไฮดรอลิคที่ควรรู้
การเลือกระบบให้เหมาะสมกับงาน ข้อแตกต่างหลัก ของระบบนิวแมติกส์ กับระบบไฮดรอลิค
การเลือกชนิดของปั้มให้เหมาะกับลักษณะการทำงาน
สูตรการคำนวณเบื้องต้นและตัวอย่างการคำนวณระบบไฮดรอลิค การหาขนาดของกระบอก ,ปั้ม ,มอเตอร์ไฟฟ้า
เครื่องจักรที่ใช้กันอยู่ จะเสียหายด้วยสาเหตุใดบ้าง
ปัญหาความร้อน แก้ ยังงัยดี
การแก้ปัญหา shock ในระบบไฮดรอลิค
เมื่อปั้มมีเสียงดังผิดปรกติ สัญญาณเริ่มต้นของความเสียหาย รีบแก้ไขก่อนที่จะต้องจ่ายหนัก
การตรวจเช็ครายวัน